ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค
เป้าหมาย
เพื่อก่อสร้างและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความสะดวกและมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านอื่น ๆ ให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านคมนาคมขนส่ง ด้านความสงบเรียบร้อย และความสงบสุขของประชาชนและด้านเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา
ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจให้ประชาชนได้รับการบริการสาธารณะให้ความสะดวก และรวดเร็วขึ้น โดยเน้นการมีมาตรฐาน ดังนี้
1. ก่อสร้างและปรับปรุงบำรุงถนน ร่องระบายน้ำ และจัดหาแหล่งน้ำการเกษตร
2. ก่อสร้างขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะให้ทั่วถึงทุกครัวเรือน
3. ก่อสร้างและขยายเขตการบริการประปาให้ทั่วถึงทุกครัวเรือน
4. บริการสาธารณะที่ประชาชนพึงได้รับอย่างถ้วนหน้า /โทรศัพท์และโครงสร้างทางการเกษตร
ตัวชี้วัด
1. จำนวนการก่อสร้างและปรับปรุงถนนทางระบายน้ำ
2. จำนวนปริมาณการขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะให้ครบทุกครัวเรือน
3. จำนวนปริมาณการขยายเขตประปาให้ครบทุกครัวเรือน
4. จำนวนการได้รับบริการสาธารณะอื่น ๆ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการสาธารณสุข และสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการ
เป้าหมาย
เพื่อพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานชุมชนให้ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน โดยประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองให้พ้นจากโรคระบาด รู้จักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ตัวแทนสุขภาพ / ประชาคมสุขภาพในชุมชนมีขวัญและกำลังใจ มีศักยภาพในการปฏิบัติงานที่ไดรับมอบหมาย การจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์เป็นไปครบถ้วน อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
แนวทางการพัฒนา
1. การพัฒนางานสาธารณสุข ควบคู่ไปกับการพัฒนาความรู้ในการป้องกัน โรคขั้น
พื้นฐาน
2. การพัฒนาศักยภาพของชุมชน องค์กรชุมชนในงานด้านสาธารณสุขภาพอนามัย
3. การป้องกันควบคุมโรคระบาดควบคู่ไปกับการจัดการสิ่งแวดล้อม
4. การส่งเสริมด้านการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดีส่งเสริมและป้องกันควบคุมโรค
5. การจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ควบคู่กับสังคมที่เอื้อเฟื้อและอบอุ่น
ตัวชี้วัด
1. ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคร้ายต่าง ๆ ในภาวการณ์ปัจจุบัน
2. มีเครือข่ายสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็งและปฏิบัติหน้าที่ด้านสุขภาพที่ทันการณ์
3. ประชาชนมีโอกาสออกกำลังกายมากขึ้นและเจ็บป่วยน้อยลง
4. สุขาภิบาลชุมชนที่ดีขึ้นอัตราการเกิดโรคระบาดในชุมชนที่น้อยลง
5. ผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้รับการส่งเสริมและสงเคราะห์ที่เป็นธรรมทั่วถึง
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเมือง การปกครอง การป้องกันและการรักษาความสงบเรียบร้อย
เป้าหมาย
เพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบอบการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย ภายตะรัฐธรรมนูญ 2550 โดยเน้นกระบวนประชาชน ให้ประชาธิปไตยเป็นไปอย่างสุจริตในขอบข่ายของกฎหมายควบคู่ไปกับสังคมที่สมานฉันท์ กับระบบการปกครองแบบมีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์สุขประชาชนโดยการจัดระเบียบชุมชนเพื่อความสงบเรียบร้อย สามาป้องกันและรักษาทรัพย์สินตามศักยภาพของคนในชุมชน
แนวทางการพัฒนา
1. การพัฒนาประชาธิปไตยเพื่อให้ประชาชนตระหนักและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องควบคู่ไปกับ
การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและวิถีแห่งการเลือกตั้งทุกระดับ
2. ส่งเสริมการปกครอง โดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
3. การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามรถของประชาชน – บุคคลทางการปกครอง ควบคู่กับการสร้าง
ขวัญและกำลังใจ ในการปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกัน และรักษาทรัพย์สิน / ความสงบเรียบร้อยของ
ชุมชน
4. การจัดหาวัสดุ / อุปกรณ์ และเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสม
5. สร้างความเข้าใจและเกิดความตระหนักในการป้องกันและลดอุบัติภัย
6. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ตัวชี้วัด
1. การเลือกตั้งทุกระดับเป็นไปอย่างสุจริตและมีความขัดแย้งทางสังคมน้อยลง
2. การปกครองที่สมานฉันท์มีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจกิจกรรมทางสังคมจากคนใน
ชุมชนที่มากขึ้น
3. อาสาสมัคทุกองค์กรมีประชาชนเข้าร่วมด้วยความยินยอมพร้อมใจมากขึ้น มีศักยภาพใน
การปฏิบัติหน้าที่
4. มีเครื่องมือ / อุปกรณ์ในการป้องกันและระงับเหตุร้ายได้ทันท่วงที ประชาชนมีความ
ไว้วางใจเพิ่มขึ้น
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม
เป้าหมาย
เพื่อสืบสานประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม โดยเน้นการเรียนรู้แก่นแท้ของวัฒนธรรมความเชื่อ อันเป็นวิถีที่ดีงามถูกต้องไปพร้อมกับการจัดกิจกรรมภายใต้หลักแห่งศาสนาให้ประชาชนได้นำหลักการแห่งความเชื่อถือที่ถูกต้อง / ความรู้ภูมิปัญญามาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม นักเรียน / เยาวชนมีโอกาสได้เรียนรู้กับการถ่ายทอกทักษะชีวิต ควบคู่ไปกับการเรียนวิชาการ โดยสร้างโอกาสให้กับชาวบ้านมีรายได้จากภูมิพื้นบ้าน ตามศักยภาพและความสามารถของตน
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมจัดกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรม ควบคู่กับการศึกษาแสวงหาความเชื่อที่ถูกต้องและ
เหมาะสมมาดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพยง
2. ส่งเสริมการจัดงานทางด้านรัฐพิธี – ราษร์พิธี เพื่อความสามัคคีในชุมชน
3. ส่งเสริมและสร้างโอกาสให้ปราชญ์ชาวบ้านมีโอกาสถ่ายทอดภูมิปัญญา
4. สนับสนุนการจัดการศึกษาตามศักยภาพของท้องถิ่น เพื่อนักศึกษา / เยาวชนมีทักษะการดำเนินชีวิต
พึ่งพาตนเองได้ในภาวการณ์ปัจจุบัน
5. สนับสนุนการบูรณะศาสนสถาน และสถานที่ประกอบกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว
6. กำหนดเทศกาลวันสำคัญประจำปี เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของตำบล
ตัวชี้วัด
1. ชุมชนมีการจัดกิจกรรมทางประเพณี – วัฒนธรรมที่ดีงามและเหมาะสมตามหลักเศรษฐกิจ
พอเพียง
2. เยาวชนได้รับการเรียนรู้ภูมิปัญญามีทักษะในการดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับการมีความรู้ในหลัก
วิชาการ คุณธรรม จริยธรรมที่ดี
3. ประชาชนมีคุณธรรมมีหลักการในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องและหลักศาสนา
4. ปราญช์ชาวบ้านที่มีภูมิปัญญาอันสมควรจะต้องถูกถ่ายทอดมีรายได้เพิ่มขึ้นจากความรู้ของตน
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ คืนความอุดมสมบูรณ์ ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติเช่นที่เคยมีมาในอดีต ไปพร้อมกับจัดการสิ่งแวดล้อม ให้ชุมชน น่าอยู่ ปราศจากสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ หรือรบกวนการอยู่ตามปกติสุข มีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย ลดความขัดแย้งในชุมชน
แนวทางการพัฒนา
1. สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม
2. จัดหาแหล่งอาหารคืนความสมดุลให้แหล่งน้ำและผืนป่า และคุณภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน
3. การบริหารจัดการและรณรงค์กำจัดขยะมูลฝอยการระบายเสียในชุมชน
ตัวชี้วัด
1. จำนวนของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. จำนวนแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นตามธรรมชาติ
3. จำนวนปริมาณขยะมูลฝอยและน้ำเน่าเหม็นในชุมชนลดลง
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ อาชีพ รายได้และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
เป้าหมาย
– เปลี่ยนวิถีคิดของคนโดยเรียนรู้จากการกระทำเพื่อให้เกิดองค์ความรู้และสามารถตัดสินใจในการดำเนินชีวิตได้
– เพื่อให้ประชนเกิดองค์ความรู้ที่สามารถคิดเองเป็น ทำเป็น และเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของชุมชน
– ขยายแหล่งกักเก็บน้ำ
– แก้ไขปัญหาอุทกภัย การขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
– การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ของชุมชน (เพิ่มคุณภาพของสินค้า)
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปสินค้าทาง
การเกษตร
2. เสริมสร้างและเพิ่มทักษะอาชีพของครัวเรือนและกลุ่มอาชีพ
3. สร้างความตระหนักในการผลิต ไปพร้อมกับการใช้และการรักษาทรัพยากรทาง ธรรมชาติ /
สิ่งแวดล้อม
4. สร้างโอกาสในการจำหน่ายผลผลิตสู่ตลาดภายนอก ตามศักยภาพของพื้นที่มีอยู่
5. ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่ม องค์กรเครือข่าย สหกรณ์ กลุ่มวิสาหกิจของชุมชน
ตัวชี้วัด
1. จำนวนบุคลากรที่มีทักษะในการผลิต และจำนวนผลผลิตทางเกษตรอินทรีย์
2. จำนวนครัวเรือนและกลุ่มอาชีพที่มีทักษะในการประกอบอาชีพ
3. จำนวนตลาดและสถานประกอบการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีระบบ
7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา กีฬาและนันทนาการ
เป้าหมาย
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน โดยผู้เรียนมีคุณธรรม นำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้อย่างเหมาะสม มีการออกกำลังกาย / เล่นกีฬา เพื่อสุขภาพและสร้างความสมานฉันท์ตลอดจนการส่งเสริมให้บุคคลมีโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ทักษะในการดำเนินชีวิต มีคุณภาพและพึ่งพาตนเองได้ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน
แนวทางการพัฒนา
1. การพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการศึกษาหาความรู้
2. การพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ตามศักยภาพของชุมชน
3. การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ปราชญ์ชาวบ้าน ให้เป็นธนาคารภูมิรู้ทุกแขนงและพัฒนาความรู้ของกลุ่มองค์กรในชุมชน
4. การพัฒนาและส่งเสริมด้านการกีฬา อุปกรณ์ / สถานที่เล่นกีฬา ที่เหมาะสม
5. การพัฒนากิจกรรมนันทนาการ เพื่อความสมานท์ฉันท์ในชุมชน
ตัวชี้วัด
1. เด็กก่อนวัยเรียนได้รับโอกาสเข้าเตรียมความพร้อมในสถานที่ ที่อบอุ่น น่าอยู่
2. เยาวชนได้รับการศึกษาควบคู่ไปพร้อมการมีคุณธรรม จริยธรรมที่ดี
3. ประชาชนมีโอกาสการเรียนรู้ทักษะการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
4. มีบุคลากรทางการศึกษาครบถ้วน มีขวัญ – กำลังใจ และมีความพร้อมในการให้
ความรู้
5. ชุมชนมีกิจกรรมเพื่อความสมานฉันท์ อย่างต่อเนื่องและเหมาะสมแก่สถานการณ์
8. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการ
เป้าหมาย
การพัฒนาระบบการทำงานให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน การบริหารจัดการ การเงิน-การคลัง การบริหารงานบุคคลและกิจการสภาท้องถิ่น การบริการประชาชน โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน (Pluplic Function) พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารให้บริการอาคารสถานที่และอำนวยความสะดวกด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย พนักงานมีหัวใจบริการ ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพขององค์กร ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีและหลักธรรมมาภิบาล
แนวทางการพัฒนา
1. การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนและประชาชน
2. การประสานการดำเนินการระหว่างหน่วยงานในพื้นที่โดยการบูรณาการแผนงาน งบประมาณและบุคลากรให้สอดคล้องเพื่อลดความซ้ำซ้อนและประหยัดงบประมาณในการดำเนินการ
3. ส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงาน ผู้บริหาร/สมาชิกสภาท้องถิ่นและพนักงานให้มีความรู้ความเข้าใจและมีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนา
4. พัฒนาระบบการให้ข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์ การประสานการดำเนินงาน